Homeข่าวทั่วไปเปิดกรอบเวลาฟื้นฟูกิจการการบินไทย ยาว 7 ปี

เปิดกรอบเวลาฟื้นฟูกิจการการบินไทย ยาว 7 ปี

ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ที่ปรึกษากฏหมายของการบินไทย บอกว่า การบินไทยอยู่สภาวะ “บังคับชั่วคราว” นับต้งแต่การยื่นคำร้องจนถึงวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้อง คือไม่สามารถก่อหนี้ได้ ห้ามชำระหนี้ เว้นแต่หนี้ที่เป็นไปเพื่อการดำเนินการทางการค้าปกติ ครอบคลุมถึงการคืนตั๋ว แลกของรางวัลต่างๆ ซึ่งจะมีผลไปจนถึงคดีฟื้นฟูกิจการเสร็จสิ้น

ทั้งนี้ หลังศาลจะมีคำสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการ และกรณีมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนตามที่การบินไทยเสนอประมาณเดือนส.ค.-ก.ย. ปีนี้ จากนั้นขั้นตอน และระยะเวลาจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ จะต้องแล้วเสร็จใน 3 เดือน และต้องส่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประมาณ ม.ค. ปีหน้า

ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ที่ปรึกษากฏหมาย

ทั้งนี้ การจัดประเภทเจ้าหนี้ จะอยูในช่วงของการทำแผน โดยแบ่งกลุ่มเจ้าหนี้ เป็น เจ้าหนี้เครื่องบิน เจ้าหนี้หุ้นกู้ เจ้าหนี้คืนบัตรโดยสาร ทำให้แล้วเสร็จในวลา 3 เดือนต้้งแต่แต่งตั้งผู้ทำแผน การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ ถุือว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของแผน เพราะคนที่จะอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ คือ เจ้าหนี้

จากนั้น ประมาณเดือนก.พ.-มี.ค. ปีหน้า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็จะจัดประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณแผน

และปลายเม.ย. ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ และตั้งผู้บริหารแผน ดำเนินการตามแผนต่อไป

ดังนั้น กรอบระยะเวลาการดำเนินการฟื้นฟูกิจการการบินไทยต้องแล้วเสร็จ 5 ปี ต่อเวลาได้ 2 ครั้งๆ ละ 1 ปี เท่ากับว่า การฟื้นฟูกิจการการบินไทยจะแล้วเสร็จในกรอบเวลา 7 ปี

ที่ผ่านมา การบินไทยได้เจรจาหารือกับเจ้าหนี้เครื่องบิน และผู้ให้เช่าเครื่องบินหลายราย ก็ได้รับการผ่อนผันว่า จะไม่มีการยึดเครื่องคืน และให้การบินไทยใช้งานไปก่อน นอกจากนี้ การบินไทยยังได้ยื่นเรื่องให้ศาลตปท.ที่การบินไทยเปิดบิน ให้การรับรองเรื่องการฟื้นฟูกิจการ ขอยืนยันว่า ปัจจุบัน ยังไมมีการยึดเครื่องบินคืน และไม่เจ้าหนี้รายใดยกเลิกสัญญา

อัสสเดช คงสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลัพทรัพย์ฟินันซ่า ที่ปรึกษาการเงิน บอกวา การบินไทยจะกลับมาบินได้เมื่อไร ขึ้นกับองค์ประกอบต่างๆ เช่น บินไปต่างประเทศได้หรือยัง ผุ้โดยสารมีเพียงพอหรือไม่ และต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้โดยสาร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทด้วย ปัจจุบัน การบินไทยได้บริหารสภาพคล่องอย่างรัดกุม ลดค่าใช้จ่ายต่างๆมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรักษาสภาพคล่องให้ได้ยาวที่สุด

อัสสเดช คงสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลัพทรัพย์ฟินันซ่า ที่ปรึกษาการเงิน

ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ การบินไทยจะได้รับเงินจากก.คลัง หรือไม่ ปัจจุบัน ถือว่าการบินไทยพ้นจากรัฐวิสาหกิจแล้ว กระทรวงการคลังไม่สามารถให้การสนับสนุนโดยตรงได้ เชน ปล่อยเงินกู้ หรือค้ำประกันเงินกู้ แต่การบินไทยยังสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งต้องขึ้นอยู่การพิจารณาของศาลล้มละายกลาง สำหรับแหล่งทุนในอนาคต ก็ต้องขึ้นกับผู้จัดทำแผนที่จะพิจาณาว่า มีความต้องการขนาดทุนเท่าไร รวมทั้งแหล่งที่มาของทุน เช่น แปลงหนี้เป็นทุน ทุนจากผู้ถือหุ้นเดิม หรือทุนจากพันธมิตรใหม่ โดยปกติ ต้องดูว่า นอกจากเงินทุนแล้ว จะมีประโยชนอื่นต่อกิจการการบินไทยด้วยหรือไม่

ส่วนการปรับโครงสร้างในการบินไทยนั้น ต้องรอให้ผู้จัดทำแผนพิจารณาถึงความจำเป็นในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟู ซึ่งต้องมีประโยชน์ต่อธุรกิจของการบินไทยมากที่สุด สภาพแข่งขัน การบริหารฝูงบิน

อรอนงค์ ชุณหะมาน ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ และบริหารกลาง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการขอเงินคืนค่าบัตรโดยสาร ว่า การรีฟันด์ หรือเลื่อนตัว เป็นสิทธิของลูกค้า บริษัทไม่มีนโยบายในการระงับสิทธินี้ ยังเปิดรับเรื่องอยู่ แต่การจ่ายคืน ยังทำไม่ได้ตอนนี้ เพราะติดขัดข้อกฏหมาย ต้องขออภัยเรื่องนี้ แต่ตั้งใจจะดูแลลูกค้าอย่างดีที่สุด ภายใต้กระบวนการฟื้นฟู โดยจะแจ้งสิทธิให้ทราบค่อไป ยังไม่สามารถประกาศนโยบายได้ชัดเจนในตอนนี้ ต้องรอแผนฟื้นฟูจากผู้จัดทำแผน

อรอนงค์ ชุณหะมาน ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ และบริหารกลาง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
- Advertisment -
[td_block_1 custom_title="Must Read" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" category_id="9" sort=""]