Homeบทความธุรกิจการบินของไทยอาการร่อแร่ เร่งกลับมาเปิดบิน รอดูความช่วยเหลือจากภาครัฐ

ธุรกิจการบินของไทยอาการร่อแร่ เร่งกลับมาเปิดบิน รอดูความช่วยเหลือจากภาครัฐ

Economic Intelligence Center (EIC) หน่วยงานภายใต้ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า ปีนี้ รายได้ธุรกิจการบินสัญชาติไทย มีแนวโน้มหดตัวลง 60% มาอยู่ที่ประมาณ 1.21 แสนล้านบาท โดยเฉพาะในเส้นทางระหว่างประเทศจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงกว่า 67% เหลือเพียง 13.1 ล้านคน ซึ่งเป็นผลจากมาตรการห้ามเดินทางเข้า-ออกประเทศของรัฐบาลหลายประเทศ ความกังวลของนักเดินทางกับการติดเชื้อ และสภาวะเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยที่กดดันให้ความต้องการเดินทางฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

การขาดรายได้จากการหยุดให้บริการจะส่งผลให้สภาพคล่องของสายการบินสัญชาติไทยลดลง และจะเพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่ายที่ยังคงเหลืออยู่ซึ่งมีสัดส่วน 30% ของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ได้เพียงประมาณ 3 เดือน

วิธีที่สายการบินสัญชาติไทยได้เร่งปรับตัว ได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายที่ยังคงเหลืออยู่ เช่น ค่าเช่าเครื่องบิน ค่าใช้จ่ายพนักงาน เป็นต้น การให้เปลี่ยนเที่ยวบินแทนการคืนค่าโดยสาร การหารายได้เพิ่มเติมจากธุรกิจอื่น ๆ และการเตรียมกลับมาให้บริการในประเทศ

ในต่างประเทศ ภาครัฐได้ให้ความช่วยเหลือธุรกิจสายการบินในหลายรูปแบบ เช่น ลดค่าธรรมเนียมและค่าภาษีในธุรกิจการบิน, สนับสนุนค่าใช้จ่ายบุคลากรทางการบิน, พิจารณาให้เงินกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง

สำหรับไทย ภาครัฐต้องพิจารณาให้รอบด้าน ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่สายการบินที่ได้รับผลกระทบ ทั้งรูปแบบและระดับในการช่วยเหลือที่เหมาะสม ประโยชน์ที่จะได้รับ รวมถึงนัยต่อฐานะการคลังของประเทศที่มีจำกัดด้วย

ทั้งนี้ ธุรกิจการบินถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมาตรการ lock down ในหลายประเทศทั่วโลกส่งผลให้สายการบินต้องยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมากและถึงขั้นหยุดให้บริการโดยเฉพาะในเส้นทางระหว่างประเทศ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ประเมิน ณ วันที่ 14 เม.ย. 2020 ว่าปริมาณการขนส่งผู้โดยสารทั่วโลกในปี 2020 จะลดลงกว่า -48% และส่งผลให้รายได้สายการบินทั่วโลกปรับลดลงกว่า -55%

- Advertisment -
[td_block_1 custom_title="Must Read" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" category_id="9" sort=""]